เมนู

ผล เป็นปัจจัยแก่ ผล.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ ผลสมาบัติ.
เนวสัญญานาสัญาญายตนะของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผล-
สมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย


[1925] 1. อตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปันนธรรม ด้วย
อำนาจของสมนันตรปัจจัย เหมือนกับอนันตรปัจจัย.


6. สหชาตปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


[1926] 1 . ปัจจุปปันนนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม
ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอัญญมัญญ-
ปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย ฯลฯ


9. อุปนิสสยปัจจัย


[1927] 1. อตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอดีตธรรมแล้วย่อมให้ทาน สมาทานศีล
กระทำอุโบสถกรรม ยังฌาน ฯลฯ ยังวิปัสสนา ฯลฯ ยังมรรค ฯลฯ ยังอภิญญา
ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอตีตธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ ฯลฯ
ความปรารถนา สุขทางกาย ทุกข์ทางกายแล้วย่อมให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ
อุโบสถกรรม ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ย่อมฆ่าสัตว์ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธาที่เป็นอดีตธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา
สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นปัจจุปปันนธรรม แก่
ปัญญา แก่ราคะ ฯลฯ แก่ความปรารถนา ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.
[1928] 2. อนาคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลปรารถนาจักษุสมบัติที่เป็นอนาคตธรรม โสตสมบัติ ฆาน-
สมบัติ ชิวหาสมบัติ กายสมบัติ วรรณสมบัติ สัททสมบัติ คันธสมบัติ รส
สมบัติ ปรารถนาโผฏฐัพพสมบัติ ฯลฯ ปรารถนาขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนาคต
ธรรมแล้ว ให้ทาน สมาทานศีล ฯสฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ

จักษุสมบัติที่เป็นอนาคตธรรม ฯลฯ วรรณสมบัติ ฯลฯ โผฏฐัพพ-
สมบัติ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนาคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็น
ปัจจุปปันนธรรม แก่ปัญญา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่
ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1929] 3. ปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยอุตุที่เป็นปัจจุปปันนธรรมแล้ว ยังฌานให้เกิดขึ้น
ยังวิปัสสนา ฯลฯ
บุคคลเข้าไปอาศัยโภชนะที่เป็นปัจจุปปันนธรรม ฯลฯ เสนาสนะแล้ว
ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.
อุตุที่เป็นปัจจุปปันนธรรม ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัย
แก่ศรัทธาที่เป็นปัจจุปปันนธรรม แก่ปัญญา แก่สุขทางกาย ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[1930] 1. ปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจุปปันนธรรม
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย